วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

การเข้าค่ายพักแรม

วิธีการปฎิตนเมื่ออยู่ค่ายพักแรม
การกางเต็นท์และการอยู่ค่ายพักแรมพิธีเปิดกอง     เข้าแถว  -  ชักธงขึ้น  -   สวนมนต์  -   สงบนิ่ง   -   ตรวจสุขภาพ   -   แยก 

การกางเต็นท์เต็นท์หรือกระโจม  ใช้เป็นที่พักผ่อนนอนหลับ และเก็บสิ่งของของลูกเสือซึ่งมีอยู่อยู่ด้วยกันหลายชนิด  ทั้งที่นอนได้คนเดียว  นอนสองคน  หรือนอนหลายคน จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามลักษณะการกาง เช่น  เต็นท์กระแบะ   เต็นท์ชาวค่าย  เต็นท์แบบหลังคาอกไก่  เต็นท์นักสำรวจ  เป็นต้น
การเลือกเต็นท์สำหรับอยู่ค่ายพักแรมนั้น   ควรเลือกที่มีน้ำหนักเบาสามารถที่จะนำไปคนเดียวได้ หรือหมู่ลูกเสือนำไปได้

การเลือกสถานที่กางเต็นท์1. พื้นที่โล่งมีหญ้าปกคลุมบางเล็กน้อย
2. พื้นที่ราบเรียบ  หรือลาดเอียงบ้างเล็กน้อย  ไม่ขุรขระหรือมีของแหลมคม
3. ไม่เป็นแอ่ง  หรือหุบเขาซึ่งเป็นที่น้ำท่วมถึงได้ง่าย 
4. อยู่ใกล้ แหล่งน้ำสะอาดและไม่มีสัตว์เดินผ่าน
5. ไม่อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่  เพราะอาจถูกกิ่งไม้หล่นทับเมื่อมีพายุ
เต็นท์สำหรับเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม นิยมใช้เต็นท์เดี่ยว  เรียกว่ากระโจม 5 ชาย 
ส่วนประกอบของกระโจม 5 ชาย  
1. ผ้าเต็นท์สองผืน      2. เสาเต็นท์      3. เชือกดึงเสาหลักมีความยาวเส้นละ 3 เมตร         4. สมอบก  10  ตัว              
5.เชือกร้อยหูเต็นท์มีความยาว 1-1.5  ฟุต

วิธีกางเต็นท์
ก่อนกางเต็นท์เราต้องดูทิศทางลม  ถ้าเป็นฤดูหนาว  หรือฤดูฝนให้ทัน   ด้านหลังเต็นท์สู่ทิศทางลม  แต่ถ้เป็นฤดูร้อนให้หันหน้าเต็นท์สู่ทางลม  การกางเต็นท์  มีวิธีดังนี้
     1. ให้นำผ้าเต็นท์ทั้งสองผืน  ติดกระดุมเข้าด้วยกัน  (ด้านที่ติดกระดุมเป็นด้านสันหลังคา  ส่วนด้านที่มีรูตาไก่ด้านละ สามรู เป็นด้านชายด้านล่าง  ) จากนั้นนำเสาหนึ่งต้นมาเสียบที่รูหลังคาเต็นท์ ให้คนที่หนึ่งจับไว้
      2. ให้คนที่สองใช้เชือกยาว  1 เส้น ยึดจากหัวเสาไปยังสมอบกด้านหน้า  แล้วใช้เชือกสั้น2เส้น  ยึดชายเต็นท์ เข้ากับสมอบก  ให้เต็นท์กางออกเป็นรูปหน้าจั่ว
      3. ให้คนที่สองเดินอ้อมไปอีกด้านจากนั้นจึงเสียบเสาอีกต้นเข้ากับรูหลังคาเต็นท์  และจับเสาไว้แล้วจึงให้คนที่หนึ่ง นำเชือกเส้นยาวยึดจากเสาไปยังสมอบก
      4. ให้ทั้งสองคนช่วยกันใช้เชือกยึดชายเต็นท์  เมื่อกางเต็นท์เสร็จแล้ว เราต้องขุดร่องน้ำรอบเต็นท์ลึกประมาณ  16 เซนติเมตร  ให้ปลายรางน้ำหันไปทางพื้นที่ลาดต่ำ  แล้วนำดินที่ได้มากันไว้ข้างชายเต็นท์เพิ่อป้องกันน้ำซึมและสัตว์เลื้อยคลานเข้าไป

การเก็บรักษาเต็นท์และอุปกรณ์
      1. ระวังอย่าให้เต็นท์ฉีกขาด  หากขาดหรือมีรูต้องรีบปะชุนทันที
      2. ในเวาลกลางวัน  ถ้าอากาศดีต้องเปิดเต็นท์ให้โล่งเพื่อระบายอากาศ
      3. เวลาถอนสมอบกเก็บ  ให้ดึงกลับขึ้นมาจาแนวที่ตอกลงไป อย่างัด
      4. เมื่อเลิกใช้เต็นท์  ต้องพับเก็บให้เรียบร้อย  หากมีรอยสกปรกต้องรีบทำความสะอาดโดยใช้ผ้าชุบน้ำ หรือผงซักฟอกเช็ด  แล้วผึ่งแดดให้แห้ง

การอยู่ค่ายพักแรมการไปอยู่ค่ายพักแรมจะไปกันเป็นหมู่คณะโดยแต่ละกองก็จะมีผู้กำกับ  และรองผู้กำกับดูแลรับผิดชอบ  ดังนั้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะดวก  ในแต่ละหมู่จึงต้องแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในลูกเสือหนึ่งหมู่
นายหมู่จะมีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบในหมู่
รองนายหมู่จะมีหน้าที่ช่วยเหลือนายหมู่เวลานายหมู่ไม่อยู่
คนดูแลงานทั่วไปจะมีหน้าที่ทำงานเบ็ดเตล็ดทั่วๆไป
พลาธิการจะมีหน้าที่ดูแลเอาใจใส่อุปกรณ์ของหมู่
คนครัวจะมีหน้าที่ประกอบอาหารสำหรับทุกคนในหมู่
ผู้ช่วยคนครัวจะมีหน้าที่ช่วยเหลือการประกอบอาหาร  ทำครัว
คนหาน้ำจะมีหน้าที่จัดหาน้ำมาใช้ภายในหมู่ให้เพียงพอ
คนหาฟืนจะมีหน้าที่หาเศษไม้กิ่งไม้  มาทำฟืนสำหรับหุ้งต้ม

อาหารที่จะเตรียมไปค่ายพักแรมนั้น  ควรเป็นอาหารที่เก็บได้นาน  ปรุงได้ง่าย  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารแห้ง  เช่น ไข่เค็ม  กุนเชียง   อาหารกระป๋อง  และจะต้องมีพริก   เกลือ  น้ำตาล  เพื่อช่วยในการปรุงรสด้วย

ประโยชน์ของการอยู่ค่ายพักแรม 
1.  เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
2.  เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
3.  ได้ออกกำลังกาย  ทำให้ร่างกายแข็งแรง
4.  ได้ศึกษาประเพณีของท้องถิ่นต่างๆ
5.  ได้ศึกษาความเป็นไปของธรรมชาติ
6.  ได้ทดสอบความอดทน
 ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
มูลนิธิคณะลูกเสือแห่งชาติ.  ลูกเสือ - เนตรนารี ป.5.  พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพฯ :  อักษรเจริญทัศน์.

กิจกรรมการเข้าค่ายพักแรม

ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน 3 กิจกรรม คือ ได้แก่(1) กิจกรรมแนะแนว (2) กิจกรรมนักเรียน (3) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ โดยกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี (รวมถึงกิจกรรมยุวกาชาด) เป็นกิจกรรมหนึ่งในกลุ่มกิจกรรมนักเรียน (กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี และกิจกรรมชุมนุม) ที่นักเรียนทุกคนต้องเข้าร่วมกิจกรรม 40  ชั่วโมงต่อปีการศึกษา (ระดับประถมศึกษา) และ 40  ชั่วโมงต่อภาคเรียน (ระดับมัธยมศึกษา) โดยสำหรับการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี มีแนวทางการจัดจิกกรรมตามวิธีการลูกเสือ (Scout Method ) ซึ่งมีองค์ประกอบ 7 ประการ คือ
                1. คำปฏิญาณและกฎ  ถือเป็นหลักเกณฑ์ที่ลูกเสือทุกคนให้คำมั่นสัญญาว่าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ กฎของลูกเสือมีไว้ให้ลูกเสือเป็นหลักในการปฏิบัติ ไม่ได้ ห้าม “ทำ” หรือบังคับให้ “ทำ” แต่ถ้า “ทำ” ก็จะทำให้เกิดผลดีแก่ตัวเอง เป็นคนดี เช่น ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีเกียรติเชื่อถือได้ ฯลฯ
               2. เรียนรู้จากการกระทำ  เป็นการพัฒนาส่วนบุคคล ความสำเร็จหรือไม่สำเร็จของผลงานอยู่ที่การกระทำของตนเอง ทำให้มีความรู้ที่ชัดเจนและสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตัวเองและท้าทายความสามารถของตนเอง
               3. ระบบหมู่ เป็นรากฐานอันแท้จริงของการลูกเสือและเป็นพื้นฐานในการอยู่ร่วมกัน ยอมรับซึ่งกันและกัน การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นการเรียนรู้การใช้ประชาธิปไตยเบื้องต้น
               4. การใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน ฝึกให้มีความเป็นหนึ่งเดียวในการเป็นสมาชิกลูกเสือเนตรนารีด้วยการใช้สัญลักษณ์ร่วมกัน ได้แก่ เครื่องแบบ เครื่องหมาย การทำความเคารพ รหัส คำปฏิญาณ กฎ คติพจน์ คำขวัญ ธง เป็นต้น วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนตระหนักและภาคภูมิใจในการเป็นสมาชิกขององค์การลูกเสือแห่งโลก ซึ่งมีสมาชิกทั่วโลก และเป็นองค์กรที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในโลก
               5. การศึกษาธรรมชาติ เป็นสิ่งสำคัญอันดับ 1 ในกิจกรรมของลูกเสือ ธรรมชาติอันโปร่งใสตามชนบทป่าเขา ป่าละเมาะ และพุ่มไม้ เป็นที่ปรารถนาอย่างยิ่งมีการในการไปทำกิจกรรมกับธรรมชาติ การปืนเขา ตั้งค่ายพักแรกในสุดสัปดาห์ หรือ ตามวาระของการอยู่ค่ายพักแรม ตามกฎระเบียบเป็นที่เสน่หาแก่เด็กทุกคน ถ้าขาดการศึกษาธรรมชาติก็ไม่ถือว่าใช้ชีวิตแบบลูกเสือ
               6. ความก้าวหน้าในการเข้าร่วมกิจกรรม  กิจกรรมต่างๆ ที่จัดให้เด็กทำ ต้องให้มีความก้าวหน้าและดึงดูดใจ สร้างให้เกิดความกระตือรือร้น อยากที่จะทำ และวัตถุประสงค์ในการจัดแต่ละอย่างให้สัมพันธ์กับความหลากหลายในการพัฒนาตนเอง เกมการเล่นที่สนุกสนาน การแข่งขันกันก็เป็นสิ่งดึงดูดใจและเป็นการจูงใจที่ดี
               7. การสนับสนุนโดยผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เป็นผู้ที่ชี้แนะหนทางที่ถูกต้องให้แก่เด็กเพื่อให้เขาเกิดความมั่นใจในการที่จะตัดสินใจกระทำสิ่งใดลงไปทั้งคู่มีความต้องการการซึ่งกันและกัน เด็กก็ต้องการให้ผู้ใหญ่เองก็ต้องการนำพาให้ไปสู่หนทางที่ดี ให้ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องและดีที่สุด จึงเป็นการร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย
scout-camp2สำหรับกิจกรรมเข้าค่ายพักแรมและเดินทางไกลของลูกเสือ-เนตรนารี ก็ถือว่าเป็นกิจกรรมภาคบังคับหนึ่งที่สำคัญ ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ และทุกโรงเรียนจะต้องจัดให้กับผู้เรียน โดยจะจัดในช่วงภาคเรียนที่ 2 ทั้งนี้ ตามข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ ว่าด้วยการปกครองหลักสูตรและวิชาพิเศษลูกเสือ พ.ศ. 2509 ได้เขียนไว้ ใน ข้อ 273 ว่า การเดินทางไกลและแรมคืน ให้ผู้กำกับกลุ่มหรือผู้กำกับลูกเสือ นำลูกเสือไปฝึกเดินทางไกลและแรมคืนในปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ครั้งหนึ่งให้พักแรมอย่างน้อยหนึ่งคืน การเดินทางไกลและแรมคืน มีวัตถุประสงค์ดังนี้            1. เพื่อให้ลูกเสือ-เนตรนารีได้ฝึกความอดทน ความมีระเบียบวินัย รู้จักช่วยตัวเอง รู้จักอยู่และทำงานร่วมกับผู้อื่น
            2. เพื่อให้ลูกเสือ-เนตรนารีเป็นพลเมืองดี  รู้จักช่วยเหลือสังคมด้วยความเต็มใจ
            3. เพื่อให้ลูกเสือเนตรนารีได้พัฒนาตนเองเต็มศักยภาพจากประสบการณ์ตรงและเรียนรู้เพิ่มเติม
สำหรับการเข้าค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี นั้น ปัจจุบันมีทั้งแบบที่โรงเรียนดำเนินการจัดค่ายเอง และแบบนำนักเรียนไปเข้าค่ายลูกเสือเอกชน ซึ่งก็มีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นกับนโยบายของผู้บริหารโรงเรียนแต่ละแห่ง แต่ไม่ว่าแบบใดก็ตาม คุณครูที่เป็นผู้กำกับลูกเสือ-เนตรนารี ก็ต้องเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อควบคุมและดูแลนักเรียนให้ได้รับความปลอดภัยในการเข้าร่วมกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้อย่างเต็มที่ และทางโรงเรียนจะต้องวางแผนการจัดการอย่างเป็นระบบและรัดกุมมากที่สุด ทั้งในด้านการคัดเลือกสถานที่จัดกิจกรรมที่จะต้องมีความปลอดภัยสูง มีฐานกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยของนักเรียนและสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร รวมถึงการมีวิทยากรผู้กำกับลูกเสือ-เนตรนารี ที่มีประสบการณ์เข้ามาเป็นผู้นำในการจัดกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะและประสบการณ์ใหม่ๆ และกรณีที่ต้องนำนักเรียนไปเข้าค่ายพักแรมนอกสถานที่ สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากคือ การเดินทางไป-กลับระหว่างโรงเรียนกับค่ายพักแรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นการเดินทางไปพักแรมหรือทัศนศึกษาต่างจังหวัด จะต้องคัดเลือกรถที่จะใช้ในการเดินทางที่มีความปลอดภัยสูงสุด และจัดงบประมาณเป็นค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอื่น ให้กับตำรวจทางหลวง นำขบวนนักเรียนทั้งไปและกลับตลอดเส้นทาง เพื่อให้การเดินทางของนักเรียนเป็นไปโดยสวัสดิภาพ 
scout-camp3
ข้อปฏิบัติในการอยู่ค่ายพักแรม
     1. เชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยเคร่งครัด

     2. เชื่อฟังคำสั่งของนายหมู่ซึ่งได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาโดยชอบธรรม
     3. คอยฟังสัญญาณหรือคำสั่งจากผู้กำกับโดยพร้อมปฏิบัติตามคำสั่งโดยฉับพลันและปฏิบัติหน้าที่ที่ได้มอบหมายให้ดีที่สุด
     4. รักษาความสามัคคีในหมู่คณะ
     5. จัดเวรยามดูแลความปลอดภัยของค่ายพักแรม
     6. รักษาความสะอาดในบริเวณที่พัก/ในห้องพักให้สะอาดเรียบร้อยอยู่เสมอ
     7. ไม่นอนในที่พักของผู้อื่น
     8. ไม่ออกนอกบริเวณที่พัก / ค่ายพักโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้กำกับเป็นลายลักษณ์อักษร
     9. ไม่ครอบครองหรือนำยาเสพติด ของมืนเมา และสิ่งอบายมุขต่าง ๆ เข้าไปในค่ายพักแรม
     10.ไม่หยิบฉวยของผู้อื่นด้วยความมักง่าย
     11.ไม่ทำลายสิ่งของต่าง ๆ ของค่ายพักแรมให้เกิดความเสียหาย
     12.หากเกิดเหตุฉุกเฉินต้องรายงานผู้บังคับบัญชาทันที
     ทั้งนี้หากพบว่าลูกเสือไม่ทำตามข้อปฏิบัติในข้อ 7,8,9,10,11 จะดำเนินการส่งตัวกลับบ้านทันทีและไม่ให้ผ่านกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี
คำปฏิญาณของลูกเสือ     ด้วยเกียรติของข้า ข้าสัญญาว่า
     ข้อ 1. ข้าจะจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 
     ข้อ 2. ข้าจะช่วยเหลือผู้อื่นทุกเมื่อ 
     ข้อ 3. ข้าจะปฏิบัติตามกฎของลูกเสือ
กฎของลูกเสือ มี  10 ข้อ     ข้อ 1. ลูกเสือมีเกียรติเชื่อถือได้ 
     ข้อ 2. ลูกเสือมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และซื่อตรงต่อผู้มีพระคุณ 
     ข้อ 3. ลูกเสือมีหน้าที่กระทำตนให้เป็นประโยชน์และช่วยเหลือผู้อื่น
     ข้อ 4. ลูกเสือเป็นมิตรของคนทุกคนและเป็นพี่น้องกับลูกเสืออื่นทั่วโลก
     ข้อ 5. ลูกเสือเป็นผู้สุภาพเรียบร้อย
     ข้อ 6. ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์
     ข้อ 7. ลูกเสือเชื่อฟังคำสั่งของบิดามารดา และผู้บังคับบัญชาด้วยความเคารพ
     ข้อ 8. ลูกเสือมีใจร่าเริง และไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก 
     ข้อ 9. ลูกเสือเป็นผู้มัธยัสถ์ 
     ข้อ 10. ลูกเสือประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น